Powered By Blogger

วันจันทร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2554

กรุ๊ปเลือด Rh

                กรุ๊ปเลือด Rh ก็เป็นการแบ่งกรุ๊ปเลือดอย่างหนึ่งที่มีความสำคัญมาก โดยจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ 
                1.Rh positive         2. Rh negative
                 การแบ่งกลุ่ม Rh ใช้การตรวจสารชนิดหนึ่งบนเม็ดเลือดแดงที่เรียกว่า Rh factor หรือ Rh antigen
คนไทยส่วนใหญ่เกือบ 100% จะมีกรุ๊ปเลือดเป็น Rh positive นาน ๆทีถึงจะเจอคนที่เป็น Rh negative ซึ่งจะมีผลต่การตั้งครรภ์ได้ในกรณีที่รุณแม่มี Rh negative และคุณพ่อมี Rh positive
เพราะลูกในครรภ์มีโอกาสที่จะมี Rh positive (คือมี Rh factor บนผิวเม็ดเลือดแดงของลูก) ซึ่งเม็ดเลือดแดงของแม่ไม่มี ร่างกายของแม่จึงตรวจจับเม็ดเลือดแดงของลูกว่าเป็นสิ่งแปลกปลอม และร่างกายแม่ก็จะสร้างภูมิต้านทาน (antibodies) ต่อเม็ดเลือดแดงของลูก
                 ภูมิต้านทานนี้จะผ่านรกเข้าไปยังกระแสเลือดลูกและเกิดการทำลายเม็ดเลือดแดงของลูก ทำให้ทารกในครรภ์มีโลหิตจางอย่างรุนแรง ซึ่งจะไม่ได้เกิดขึ้นทันทีนารตั้งครรภ์ครั้งแรก เพราะร่างกายของแม่จะค่อย ๆใช้เวลาในการสร้างภูมิต้านทาน จนในที่สุดจะมีปริมาณภูมิต้านทาน หรือ Antibodies ต่อ Rh antigen เกิดขึ้นอย่างมากในกระแสเลือดแม่ และเมื่อการตั้งครรภ์ครั้งต่อไปเกิดขึ้นและทารกในครรภ์มี Rh positive อีก ภูมิต้านทานในกระแสเลือดแม่จะผ่านรกเข้าไปยังกระแสเลือดลูก และไปทำลายเม็ดเลือดแดงของลูกซึ่งมีแอนติเจนอยู่ ทำให้ทารกเกิดอาการโลหิตจางที่รุนแรงในครรภ์ต่อมา ภาวะนี้เรียกว่าการไม่เข้ากันของกรุ๊ปเลือด Rh  (Rh incompatibility)
                ดังนั้นหารตรวจพบว่าคุณแม่มี Rh negative คุณหมอจะป้องกันการสร้างภูมิต้านทานด้วยการให้ยาฉีดชนิดหนึ่งชื่อว่า Rh immunoglobulin (Rhig) ซึ่งจะทำหน้าที่จับกับ Rh factor บนเม็ดเลือดแดงลูก ทำให้ร่างกายแม่ไม่สามารถตรวจจับ Rh factor ซึ่งเป็นสิ่งแปลกปลอมได้ ร่างกายแม่จึงไม่สร้างภูมิต้านทาน ก็จะไม่เกิดอาการกับลูกในครรภ์ต่อ ๆ มา
                ในคนไทยหรือคนเอเซียส่วนใหญ่ เกือบ 100% จะมีกรุ๊ปเลือดเป็น  Rh positive จึงมักไม่ค่อยพบปัญหา แต่ในชาวยุโรปผิวขาวจะพบ Rh negative ถึง 15%

วันเสาร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554

กรุ๊ปเลือด ABO

         กรุ๊ปเลือด (blood group) คือ การแบ่งชนิดของเลือดเป็นกลุ่มตามสารชนิดพิเศษ ซึ่งอยู่บนผิวของเม็ดเลือดแดง ที่เรียกว่า "แอนติเจน (Antigen)" กรุ๊ปเลือดของคนเราแบ่งได้หลายแบบเนื่องจากแอนติเจนมีหลายชนิด แต่ที่มีความสำคัญและใช้กันมากมีสองแบบ คืออ
         1.กรุ๊ปเลือด ABO
         2.กรุ๊ปเลือด Rh

กรุ๊ปเลือด ABO
        กรุ๊ปเลือด ABO เป็นที่รู้จักกันดีอยู่แล้ว การแบ่งกรุ๊ปเลือดแบบ ABO นี้จะแยกได้เป็น 4 กลุ่ม คือ A,B,AB และ O โดยดูจากชนิดของ Antigen บนผิวเม็ดเลือดแดงว่า เป็นแอนติเจน A หรือ B หรือ มีทั้ง A และ B หรือไม่มีแอนติเจนเลย ส่วนแอนติบอดี้ซึ่งเป็นภูมิต้านทานต่อแอนติเจนจะเป็นชนิดตรงกันข้ามกับแอนติเจนที่มีอยู่บนผิวเม็ดเลือดแดง
         อันที่จริงแล้ว ประโยชน์หลักที่ได้จากการตรวจกรุป๊เลือด ABO จะอยู่ที่ช่วงหลังคลอดมากกว่า คือ ถ้าลูกเกิดอาการเหลืองขึ้นภายหลังคลอด อาจเป็นภาวะที่เกิดจากการที่กรุ๊ปเลือด ABO ของแม่กับลูกไม่เข้ากัน (ABO incompatibility) โดยจะพบในคุณแม่ที่มีเลือดกรุ๊ป O แต่ลูกมีเลือดกรุ๊ปอื่น ดังนั้น แอนติบอดี้ที่มีในกระแสเลือดแม่ จะผ่านไปยังลูกและเกิดการทำลายเม็ดเลือดแดงของลูก เป็นสาเหตุของอาการตัวเหลืองในทารกแรกเกิดได้

การตรวจเลือดก่อนตั้งครรภ์

1.การตรวจความเข้มข้นของเลือด(Complete blood count : CBC)
         การตรวจ CBC จะทำให้ทราบว่ามีอาการของโรคโลหิตจางหรือไม่ และตรวจดูลักษณะของเม็ดเลือดและเกล็ดเลือด ข้อมูลสำคัญอย่างหนึ่งที่จะได้จากการตรวจ CBC คือขนาดของเม็ดเลือดแดงซึ่งจะเป็นตัวคัดกรองโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียได้
2.การตรวจกรุ๊ปเลือด (Blood group)
         การตรวจกลุ่มเลือด ABO และ Rh
3.การตรวจโรคติดเชื้อที่มีผลต่อการตั้งครรภ์
         โรคติดเชื้อที่มีผลต่อการตั้งครรภ์จะมีการตรวจ 3โรค คือ ไวรัสตับอักเสบบี,โรคซิฟิลิส และโรคเอดส์ สำหรับโรคไวรัสตับอักเสบบี หากตรวจพบว่าเป็นพาหระของโรค(Hepatitis B carrier) คือพบว่ามีไวรัสแฝงอยู่โดยที่ยังไม่มีอาการ เมื่อคุณแม่คลอดบุตรจะมีการให้ภูมิคุ้มกัน (Hepatitis B immunoglobulin) แก่ลูกทันทีภายหลังคลอดเพื่อป้องกันไม่ให้ลูกติดเชื้อ ส่วนโรคซิฟิลิส หากตรวจพบว่าเป็นก็จะต้องรีบทำการรักษาตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ เนื่องจากเป็นโรคที่สามารถติดต่อไปยังทารกในครรภ์ได้ทำให้เกิดภาวะซิฟิลิสแต่กำเนิด (Congenital syphilis) ซึ่งทำให้ทารกในครรภ์มีความพิการทางร่างกายได้ ในกรณีโรคเอดส์ หากตรวจพบว่ามีการติดเชื้อ คู่สมรสต้องได้รับคำปรึกษาอย่างละเอียดถึงวิธีการปฏิบัติตัวและการตัดสินใจในการมีบุตร เนื่องจากเอดส์มีโอกาสติดต่อไปยังทารกในครรภ์ได้ 30% หากไม่ได้รับยาป้องกันตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์
4.การตรวจภูมิคุ้มกันหัดเยอรมัน(Rubella immune titer)
         เป็นการตรวจว่าร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่อโรคหัดเยอรมันแล้วหรือยัง ซึ่งภูมิคุ้มกันนี้อาจได้จากการฉีดวัคซีนหรือจากการเป็นโรคนี้มาก่อนแล้วก็ได้ โรคหัดเยอรมันเป็นโรคที่มีอันตรายต่อทารกหากติดเชื้อในระยะ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ดังนั้นถ้าตรวจพบว่าไม่มีภูมิรุ้มกันโรค ก็ควรระมัดระวังไม่เข้าใกล้ผู้ที่สงสัยว่าจะติดเลื้อ แต่ถ้าหากตรวจพบว่ามีภูมิคุ้มกันหัดเยอรมันแล้วก็จะไม่มีโอกาสติดโรค ก็สบายใจได้

ข้อมูลจาก คู่มือตั้งครรภ์ทันสมัย โดย พ.ญ.ปิยะรัตน์ สัมฤทธิ์ประดิษฐ์